Compound Component Pattern

Overview

Compound Component เป็นรูปแบบการออกแบบใน React ที่ช่วยให้สร้าง components ที่ยืดหยุ่นและปรับแต่งได้ โดยการแยกส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันออกเป็นหลายๆ child component ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ผ่าน parent component เดียวกัน

Concept

Compound Component ใช้ Context API และ React.Children API เพื่อ:

  1. สร้าง parent component ที่จัดการ state หลัก
  2. ให้ child components เข้าถึง state หรือฟังก์ชันผ่าน context
  3. ทำให้โครงสร้าง component ชัดเจนและง่ายต่อการปรับแต่ง

Advantages

  • Flexibility: สามารถปรับแต่งโครงสร้างและการทำงานได้ง่าย
  • Reusability: นำส่วนประกอบกลับมาใช้ซ้ำได้ในหลายๆ สถานการณ์
  • Separation of Concerns: แยกการจัดการ state ออกจาก UI
  • Maintainability: ทำให้โค้ดอ่านง่ายและจัดการง่ายขึ้นเมื่อแอปพลิเคชันเติบโต

When to Use Compound Component

  • เมื่อส่วนประกอบมีความสัมพันธ์กัน เช่น Tabs, Modals, Dropdowns, หรือ Accordions
  • ต้องการให้ parent component จัดการ state และส่งข้อมูลไปยัง child component โดยไม่ใช้ prop drilling
  • ต้องการเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ใช้งานปรับแต่งหรือขยายความสามารถของ component ได้ง่าย

Example: Tab and TabContent

ขอยกตัวอย่างการใช้งานกับ Tab และ TabContent

image.png

จากรูป component ด้านบน

Context API

  • สำหรับการ share state ใน Parent component

Parent Component (Tab)

  • ใช้ TabContext เพื่อจัดการ activeIndex (สถานะของ tab ที่เลือกอยู่)
  • ให้ child components ใช้ข้อมูลและฟังก์ชันผ่าน Context

Child Components

  1. Tab.TabMenu: Render ปุ่ม tab ต่างๆ และเปลี่ยน activeIndex เมื่อผู้ใช้คลิก
  2. Tab.Panel: แสดงเนื้อหาเฉพาะ tab ที่เลือก

Implementation

Code Example

Tab.tsx

import React, { useState, createContext, useContext } from 'react'

// Create Context API
const TabContext = createContext()

// Custom hook for accessing Tab context
const useTabChange = () => {
    const context = useContext(TabContext)
    if (!context) {
        throw new Error('TabProvider not implemented')
    }
    return context
}

// Parent component: Tab
const Tab = ({ children }) => {
    const [activeIndex, setActiveIndex] = useState(0)

    return (
        <TabContext.Provider value={{ activeIndex, setActiveIndex }}>
            {children}
        </TabContext.Provider>
    )
}

// Child component: TabMenu
Tab.TabMenu = ({ children }) => {
    const { activeIndex, setActiveIndex } = useTabChange()

    return (
        <div>
            {React.Children.map(children, (child, index) => (
                <button
                    onClick={() => setActiveIndex(index)}
                    style={{ fontWeight: activeIndex === index ? 'bold' : 'normal' }}
                >
                    {child}
                </button>
            ))}
        </div>
    )
}

// Child component: TabPanel
Tab.Panel = ({ children, index }) => {
    const { activeIndex } = useTabChange()
    return activeIndex === index ? <div>{children}</div> : null
}

export default Tab

App.tsx

import React from 'react'
import Tab from '@src/component/ui/Tab'

const App = () => {
    return (
        <Tab>
            <Tab.TabMenu>
                <span>Tab 1</span>
                <span>Tab 2</span>
                <span>Tab 3</span>
            </Tab.TabMenu>
            <Tab.Panel index={0}>Content for Tab 1</Tab.Panel>
            <Tab.Panel index={1}>Content for Tab 2</Tab.Panel>
            <Tab.Panel index={2}>Content for Tab 3</Tab.Panel>
        </Tab>
    )
}

export default App

Key Features

  1. Dynamic Rendering: ใช้ React.Children.map เพื่อกำหนดโครงสร้าง child components
  2. Context Management: ใช้ useContext เพื่อแชร์ข้อมูลระหว่าง parent และ child components
  3. Encapsulation: การจัดการ state อยู่ใน parent component เพียงที่เดียว

Best Practices

  1. ใช้ Prop Validation เพื่อตรวจสอบ props ที่ส่งมาใน child components
  2. ออกแบบ child components ให้แยกความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
  3. ทำให้ Component Interface (API) ง่ายต่อการเข้าใจ เช่น ชื่อ method หรือ prop ที่ชัดเจน
  4. ใช้ TypeScript เพื่อลดข้อผิดพลาดและทำให้โค้ดอ่านง่ายขึ้น

Conclusion

Compound Component เป็นรูปแบบการออกแบบที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความสะอาด และความสามารถในการจัดการโค้ดในโปรเจกต์ React โดยเหมาะสำหรับส่วนประกอบที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด เช่น Tabs, Dropdowns, และ Modals

Next article>

P

Writter By @Patradanai

จดบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในการทำงาน